ลานลาวาปล่องภูเขาไฟ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี จากการสำรวจทางธรณีวิทยาในพื้นที่ศึกษาบ้านบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเขาสั่นทมนั้นเป็นหินทรายกึ่งแปรเนื้อขนาดปานกลางถึงหยาบ หินทรายปนกรวด จนถึงหินกรวดมน ยุคดีโวเนียน ไซลูเรียน พบมีการแทรดตัวของสายแร่ควอรดซ์แบบร่างแห (stoc kwork) จนถึงแบบเบร็คเรีย (brecla) หินทรายกึ่งแปรบริเวณนี้พบแสดงลักษณะการแตกเนื่องมาจากการคายน้ำ (sand crack) และแสดงลักษณะการวางชั้นแบบชั้นบาง (lamination) หินบะซอลต์ที่พบในพื้นที่อำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี ได้ถูกกำหนดอายุไว้ที่ ๓.๑๔ ล้านปี และ ๔.๑๗ ล้านปี โดย S.M Batt and M.A. Cooper. ๒๐๑๓ พบบริเวณเขาลั่นทม เป็นหินบะซอลต์เนื้อแน่น พบมีหินแปลกปลอมจำพวกหินไนส์ หินเพอริโตไทด์ ผลึกแปลกปลอมขนาดใหญ่ของสปิเนลและไพรอกซึนแทรกปนอยู่ในเนื้อหิน บริเวณยอดเขาลั่นทม พบหินบะซอลต์แสดงลักษณะเสาหินแบบเหลี่ยม (columnar joonft) ที่ไม่สมบูรณ์และแสดงลักษณะของฟองอากาศ (vesicular textural) ในเนื้อหินบะซอลต์  หินบะซอลต์ดังกล่าวในอดีตสันนิษฐานว่าเกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทยทำให้เกิดรอยแยกบริเวณ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นลาวาบะซอลต์ได้อุ้มพลอยคอรันดัมจากชั้นแมนเทิลระดับบน (ชั้นภายในโลก) ขึ้นมายังบนผิวโลกผ่านรอยแยกบริเวณพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งคาดว่าอย่างน้อยเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้สองครั้ง ครั้งแรกลาวาบะซอลต์แทรกตัวขึ้นมาจากใต้โลกประมาณ ๔.๑๗ ล้านปี มาแล้ว และอีกเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๓.๑๔ ล้านปี ที่ผ่านมา